รีวิว oculus (2014) ส่องให้เห็นผี แต่ผมขอให้ชื่อเรื่องนี้ว่า”กระจกหลอนซ่อนวิญญาณ” น่าจะเหมาะกว่า หนังผีสยองขวัญฝีมือทีมสร้าง Blumhouse Productions ผลงานเช่น Insidious และ Paranormal Activity นับว่าเชื่อเรื่องความสยอขวัญได้เลย เนื้อเรื่องกล่าวถึง กระจกโบราณชื่อว่า กระจกรัสเชิล เกี่ยวข้องกับการตายของคน 45 คน ในรอบ 4 ศตวรรษ แต่ละรายเป็นการตายผิดธรรมชาติ และเมื่อกระจกมันมาอยู่ในบ้านของครอบครัวอลัน ประกอบด้วยภรรยา และ เคลี่ย์ และ ทิม ลูกของเขา กระจกผีสิงได้ถูกนำมาไว้ในห้องทำงานของเขา ไม่นานพฤติกรรมของอลันเปลี่ยนไป เหม่อลอย กัดเล็บตนเอง มีอารมณ์ฉุนเฉียวและรุนแรง ภรรยาลูกสาวและลูกชายมักเห็นอะไรแปลก ๆ ในห้องทำงานของพ่อ เช่น อลันคุยกับบุคคลอื่น มีหญิงปริศนาอยู่ในห้องทำงาน จากนั้นไม่นานก็เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นกับครอบครัวนี้ เคลีย์ พี่สาว จึงถูกส่งไปเลี้ยงที่มูลนิธิ ส่วนทิม น้องชายเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อบำบัดอาการทางจิต
เหตุการณ์ผ่านไป 11 ปี เคลีย์ ทำงานในบริษัทประมูลสินค้า และ ทีมออกจากโรงพยาบาล ทั้งสองกลับมาที่บ้านหลังเดิม เคลีย์ได้นำกระจกบานนี้กลับมาที่บ้านเพื่อหาทางพิสูจน์ว่ากระจกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมของครอบครัวของเธอ รวมถึงสาเหตุการการเกิดโศกนาฏกรรม หลายครั้งในช่วง 4 ศตวรรษมานี้ เรื่องราวเป็นอย่างไรโปรดติดตามชมครับ นับเป็นหนังผีสยองขวัญแนวจิตวิทยาที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อย่างแรกคือวิธีการเล่าเรื่อง หนังไม่ได้เรื่องแบบเรียงลำดับจาก 1 ไปถึง 10 แต่เรียงลำดับแบบสลับไปสลับมา (Flashback) ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง memento Cloud Atlas หรือ Pulp Fiction แม้จะไม่ล้ำลึกเท่า แต่ก็ถือว่าทำได้ดี แม้จะไม่เรียงลำดับ แต่ก็สามารถต่ายระดับความหลอน จาก 1 ถึง 10 ได้อย่างชาญฉลาด
เหนือยิ่งไปกว่านั้น การเล่าเรื่องแบบตัดสลับไปสลับมาไม่เรียงลำดับของ Oculus ยังนำเสนอแบบ 2 มิติคือ มิติใน past ของอดีตช่วงสมัยที่สองพี่น้องยังเป็นเด็กเมื่อ 11 ปีที่แล้ว กับ past ปัจจุบัน ที่สองพี่น้องพยายามพิสูจน์อาถรรพ์ของกระจก สำหรับผมแล้วชอบการเล่าเรื่องแบบนี้ ซึ่งต่อให้เนื้อเรื่องของหนังจะดูไม่มีอะไร ก็เพิ่มความมีอะไร ๆ มากขึ้น แม้จะเป็นหนังผีก็เป็นหนังผีแนววิทยาศาสตร์ มีการพิสูจน์ผีโดยการใช้เครื่องมือในยุคปัจจุบันเช่น กล้องวีดีโอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องตรวจจับอุณหภูมิ หนังพยายามใช้หลักวิทยาศาสตร์อธิบายความมีตัวตนของผีผ่านการอธิบายของเคลีย์ โดยที่ทิมใช้หลักวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาอธิบายเหตุการณ์เหนือธรรมชาติค้านการนำเสนอทฤษฎีเรื่องผีของพี่สาว ซึ่งดูย้อนแย้งกันไปมา แต่หนังก็ทำออกมาได้อย่างสนุก เคลีย์พี่สาวรับบทเป็นผู้อธิบายสิ่งนี้ ดังนั้นเธอจึงเป็นภาพแทนของหนัง (ผู้กำกับ-คนเขียนบท- ผู้ส่งสาร) ส่วนทิม จะเป็นผู้รับฟัง และพยายามทำความเข้าใจกับการอธิบายของพี่สาว และแสดงความเห็นแย้ง ดังนั้นทิมจึงเป็นภาพแทนของผู้ชม (ผู้รับสาร-ตีความ) จะรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดของหนังทั้งหมดผ่านการเล่าจากพี่สาวและตัวเขานั่นเอง
ความเหนือชั้นอีกอย่างหนึ่งคือ แม้จะเป็นหนังผีที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ แต่จุดเด่นที่สุดน่ากลับเป็นประเด็นเกี่ยวกับจิตวิทยา สองพี่น้อง เคลีย์แบะทิม ตั้งคำถามระหว่างกันเองว่า ภาพเหตุการณ์ที่ตนเห็นเมื่อ 11 ปีที่แล้วนั้น ภาพใดเป็นภาพจริง ภาพใดเป็นภาพในจินตนาการ ที่ต่างคนต่างจินตนาการขึ้นมาเอง ประเด็นนี้ สามารถหลอกคนดูได้อย่างอยู่หมัด เราดูไปก็ตั้งคำถามไป เหมือนกับสองพี่น้องนี้แหละ ดังนั้นหนังเรื่องนี้จึงพยายาม ตั้งคำถามว่า “ผี” “จิต” “ความทรงจำอันบิดเบือน” “การตีความจากสิ่งที่เห็น” ของเรา สิ่งไหนจะหลอกตัวเราได้มากกว่ากัน ในแง่ความเป็นหนังผีนั้นไม่เน้นผีน่ากลัวหรือวิญญาณหลอนออกมาหลอกหลอน แต่เน้นในการสร้างบรรยากาศไม่ไว้วางใจ และเหตุการณ์ชวนสงสัย หากใครชอบหนังผีแบบหลอกหลอนโจ่งแจ้ง คงจะผิดหวังกับหนังเรื่องนี้ หากใครชอบหนังผีแนวเน้นเนื้อเรื่อง ผมว่าเรื่องนี้นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง กล่าวโดยสรุป Oculus ส่องให้เห็นผี เป็นหนังผีสยองขวัญแนวจิตวิทยาที่หลอกหลอนคนดูให้คล้อยตามแล้วตลบหลังในช่วงท้าย จนเราเองต้องให้นิยามกับคำว่า “ผีหลอก” ใหม่ทั้งหมด จัดเป็นหนังผี ที่มี creative ดีเรื่องหนึ่งเลยครับ
จุดเด่นและจุดด้อยของหนังผี oculus ส่องให้เห็นผี
หนังผี oculus ส่องให้เห็นผี ถือว่ามีจุดเด่นในเรื่องของการสร้างความน่าขนลุกที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ผ่านการเล่าเรื่องราวที่ไม่ได้เป็นเส้นตรงระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้กลับสามารถสอดประสานกันให้กลายเป็นเหตุการณ์ร่วมได้อย่างน่าประหลาด พูดกันตามตรงแล้ว เนื้อหาของหนังผี Oculus ส่องให้เห็นผี ดูเหมือนจะเป็นแนว “จิตวิทยาสยองขวัญ” มากกว่า บนเนื้อหาที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะบทบาทของนักแสดงที่มีความลึกซึ้งกับเรื่องราวอย่างมาก นักแสดงวัยรุ่นในหนังเรื่องนี้ทำผลงานได้ดี การแสดงเองก็ดูเป็นธรรมชาติไม่ขัดตา แถมไม่มีฉากหลอกล่อให้สะดุ้งตกใจอย่างไม่จำเป็น อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้หนังผี Oculus ส่องให้เห็นผี โดดเด่นมากกว่าหนังสยองขวัญทั่วไปคือ มันมีคำอธิบายต่อเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่เหมือนกับหนังผีตลาดที่พยายามขายความเหนือธรรมชาติอย่างเกินความพอดี จุดด้อยของหนังผี Oculus ส่องให้เห็นผี คือ ในช่วงของการเริ่มต้นที่ค่อนข้างช้า และระดับของความน่ากลัวของหนังโดยรวมเองก็ยังไม่ได้อยู่ในระดับที่ทำให้เกิดความรู้สึกขนลุกได้ กับเนื้อเรื่องอีกบางส่วนที่เชื่อว่าจะขัดแย้งกับความรู้สึกของคนดูอย่างแน่นอน แต่ไม่ขอเฉลยว่าเป็นส่วนไหน เพราะมันจะเป็นการสปอยเนื้อหาอย่างไม่จำเป็นนั่นเอง
โดยรวมแล้วหนังผี Oculus ส่องให้เห็นผี น่าดูหรือเปล่า!?
ในความเห็นของผู้เขียน หนังผี Oculus ส่องให้เห็นผีเป็นภาพยนตร์สยองขวัญที่ดีเลยทีเดียว เพราะเป็นหนังที่พยายามอธิบายที่มา ประวัติศาสตร์ของผีสาง แถมยังมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และการพยายามหาความจริงไปพร้อมกับการต่อสู้กับความหลอนที่เกิดขึ้นแบบไม่ใช่ล่อหลอกให้ตกใจเหมือนกับหนังผีตลาดทั่วไป หนังผี Oculus ส่องให้เห็นผี ฉลาดกว่านั้น โดยเฉพาะในการเล่นแง่ทางจิตวิทยากับคนดู ที่ทำให้ต้องคิดตามเป็นอย่างมากว่าทำไมแต่ละเหตุการณ์ที่ไม่ได้ล่าเรื่องราวแบบเส้นตรง ถึงสามารถร้อยเรียงเข้ามาจนเหมือนกับเป็นเหตุการณ์เดียวกันได้!? ดังนั้น หนังผี Oculus ส่องให้เห็นผี อาจค่อนข้างเหมาะกับคนที่ชอบการคิดตามในขณะที่กำลังรับชม ส่วนใครที่อยากจะดูหนังผีเพื่อรับชมฉากตกใจ กรีดร้อง ชวนขนลุก หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ค่อยเหมาะสักเท่าใดนัก แต่โดยรวมหนังผี Oculus ส่องให้เห็นผี ก็ถือว่าสนุกน่าดูเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว… oculus